สารละลายกรด – เบส

Homepage
สารละลายกรด – เบส
สารละลายต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน มีทั้งชนิดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือที่เรียกว่า มีสมบัติเป็นกรด และชนิดที่มีสมบัติเป็นเบส สารบางชนิดเป็นอันตราย แต่บางชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ สมบัติของสารละลายกรด-เบส จึงเป็นเกณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในการจำแนกประเภทของ
         กรด หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน ( H+ )
      สมบัติของสารละลายกรด
  1. กรดทุกชนิดมีรสเปรี้ยว
  2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง (มีค่าpH น้อยกว่า 7)
  3. ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น สังกะสี ทองแดง แมกนีเซียม อะลูมิเนียม จะได้ฟองแก๊สไฮโดรเจนออกมา
  4. กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน เนื้อเยื่อของร่างกาย ถ้ากรดถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน  ถ้ากรดถูกเส้นใยของเสื้อผ้า เส้นใยจะถูกกัดกร่อนให้ไหม้ได้ นอกจากนี้ยังทำลายเนื้อไม้ กระดาษ และพลาสติกบางชนิดได้ด้วย
  5. กรดทำปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้หินปูนกร่อน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีสมบัติทำให้น้ำปูนใสขุ่น
  6. สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี เพราะกรดสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน
  7. ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ
  8. กรดทำปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจนซึ่งเป็นแก๊สที่เบา ติดไฟได้
       ประเภทของสารละลายกรด
          สารละลายกรดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  1. กรดอินทรีย์ (Organic acid) เป็นกรดที่ได้จากธรรมชาติ จากสิ่งมีชีวิต เช่น
        - กรดแอซิติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม ได้จากการหมักแป้งหรือน้ำตาลโดยใช้จุลินทรีย์ ซึ่งนิยมใช้ในการผลิตน้ำส้มสายชู
       - กรดซิตริก (citric acid) หรือกรดมะนาว เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  เช่น ส้ม มะนาว
       - กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) หรือวิตามินซี มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
       - กรดอะมิโน (amino acid) เป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน มักพบในเนื้อสัตว์ ผลไม้เปลือกแข็ง หรือพืชตระกูลถั่ว
  1. กรดอนินทรีย์(Inorganic Acids) เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ  จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้   มีความสามารถในการกัดกร่อนสูง   ถ้าถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของร่างกายจะทำให้ไหม้  แสบ หรือมีผื่นคัน
ตัวอย่างเช่น
      - กรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric  acid)  หรือกรดเกลือ
     - กรดไนตริก  (nitric  acid)  หรือกรดดินประสิว
     - กรดคาร์บอนิก  (carbonic  acid)  หรือกรดหินปูน
     - กรดซัลฟิวริก (sulfuric  acid)  หรือกรดกำมะถัน
สารละลายเบส
       เบส   คือ สารประกอบที่ทำปฏิกิริยากับกรด แล้วได้เกลือกับน้ำจะสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) เบสทุกชนิดจะมีรสฝาด
       สมบัติของสารละลายเบส
  1. เบสทุกชนิดมีรสฝาดหรือเฝื่อน
  2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน (มีค่าpH มากกว่า 7)
  3. ทำปฏิกิริยากับน้ำมันพืช หรือน้ำมันหมู จะได้สารละลายที่มีฟองคล้ายสบู่
  4. ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียไนเตรตจะได้แก๊สที่มีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย
  5. สามารถกัดกร่อนโลหะ อะลูมิเนียมและสังกะสี และมีฟองแก๊สเกิดขึ้น
  6. ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ เช่น  สารละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์)  ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก)  ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์  หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงอาหาร นอกจากนี้โซดาไฟยังสามารถทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน ได้เกลือโซเดียมของกรดไขมัน หรือที่เรียกว่า สบู่
       ประเภทของเบส
       ตัวอย่างสารละลายเบสในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม   มีดังต่อไปนี้
  1. สารประเภททำความสะอาด
         -  โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)  ใช้ทำสบู่
        -  แอมโมเนีย (CH3) น้ำยาล้างกระจก,น้ำยาปรับผ้านุ่ม
        -  โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)   อุตสาหกรรมผงซักฟอก
  1. สารปรุงแต่งอาหาร
         - โซเดียมไฮดรอกไซด (NaOH)  ทำผงชูรส
         - โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3)  ทำขนม
  1. สารที่ใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ย
        - ยูเรีย [CO(NH2)2]  ใช้ทำปุ๋ย
       - แคลเซียมไฮดรอกไซด์ [Ca(OH)2] แก้ดินเปรี้ยว
  1. ยารักษาโรค
       - NH3(NH4)2CO3  แก้เป็นลม
      - แคลเซียมไฮดรอกไซด์ [ Ca(OH)2] ลดกรดในกระเพาะอาหาร
     - แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ [ Mg(OH)2]  ลดกรดในกระเพาะอาหาร , ยาถ่าย

อ้างอิง : https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7887-2018-02-27-03-53-51

Comments